วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ความจริงเสมือน (Virtual Reality : VR) กับแนวโน้มการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล

สุชาดา ธนาวุฒิ
นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช


        ปัจจุบันเป็นการเรียนรู้ในโลกยุคดิจิทัลที่มีเทคโนโลยีความจริงเสมือนมาช่วยส่งเสริมผู้เรียนให้มีโอกาสในการเรียนรู้บางสิ่งบางอย่างที่ตัวอักษรและภาพไม่สามารถที่จะอธิบายได้ชัดเจน
        ความจริงเสมือน (Virtual Reality : VR) เป็นการจำลองบรรยากาศหรือสถานการณ์โดยต้องผ่านอุปกรณ์สารสนเทศ ที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องอยู่ในสถานที่หรือเกี่ยวเนื่องกับพื้นที่นั้น ขณะที่ใส่แว่นความจริงเสมือนผู้ใช้จะได้เห็นสถานที่ต่าง ๆ เสมือนจริงมาอยู่ในแว่น เช่น ใต้ท้องทะเลลึก หรืออวกาศนอกโลก จะมีการจำลองบรรยากาศรอบข้าง โดยความจริงเสมือนจะช่วยให้ผู้เรียนมีความสนใจและความกระตือรือร้นในการเรียนรู้มากขึ้นกว่าการเรียนรู้จากการอ่านแค่ในตำรา
        ความจริงเสมือนมีข้อดี ดังนี้ (1) ท่องเที่ยวสำรวจโลกโดยไม่ต้องออกจากห้องเรียน (2) สัมผัสประสบการณ์เสมือนจริง (3) เดินทางข้ามเวลาไปยังสถานที่และเหตุการณ์สำคัญจากอดีต (4) สำรวจภายในร่างกายมนุษย์ (5) สร้างสรรค์จินตนาการให้กับนักเรียน และ (6) กระตุ้นความอยากรู้และความสงสัยของนักเรียน แต่ความจริงเสมือนก็มีข้อจำกัด ดังนี้ (1) อุปกรณ์มีราคาสูง (2) เทคโนโลยีซับซ้อนมากเกินกว่าจะใช้ได้ในห้องเรียนธรรมดา (3) ซอฟต์แวร์บทเรียนยังมีจำกัดในเรื่องที่จะใช้เรียน (4) ส่งผลเสียต่อระบบการมองเห็น และ (5) เสี่ยงต่อการดูสื่อลามกหรือการเล่นเกมที่มีเนื้อหารุนแรง
        ดังนั้นผู้สอนควรสร้างสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบของความจริงเสมือน เพื่อให้เทคโนโลยีความจริงเสมือนสามารถที่จะนำมาใช้ในสถาบันการศึกษาได้


ที่มา : https://www.creativecitizen.com/bully-vr/







อ้างอิง
เกษม เมษินทรีย์. (2559). ยุทธศาสตร์และการปฏิรูปสู่การเป็นไทยแลนด์ 4.0. กรุงเทพฯ : 
กระทรวงศึกษาธิการ.
กรุงเทพธุรกิจ. สื่อเสมือนจริงเปิดประตูห้องเรียน 4.0. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2561. จาก
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/754556
ปิยพร อรุณเกรียงไกร. การเรียนรู้ที่โลกเสมือนมาบรรจบกับความจริง. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2561.
จาก https://themomentum.co/successful-innovation-design-e-learning-ar-and-vr/
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. Virtual reality (VR). สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2561. จาก https://th.wikipedia.
org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%
8A%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0
%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B5
วิรัช ปัณฑ์ศิริโรจน์.VR เทคโนโลยีสำหรับการเรียนรู้ยุค4.0. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2561. จาก 
https://www.applicadthai.com/articles/article-education/vr
สยมล วิทยาธนรัตนา. เทคโนโลยีความจริงเสมือนในอนาคต. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2561. จาก 
http://www.etatjournal.com/web/menu-read-web-etatjournal?catid=0&id=321

1 ความคิดเห็น: