วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561

รูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสอนของครูในยุคดิจิทัล

สัญญา องคะลอย
นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 
สาขาวิชาศึกษาศาสตร์


               ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามามีบทบาทและอิทธิพลต่อชีวิตมนุษย์เพิ่มขึ้น ดังนั้นครูควรต้องพยายามติดตาม ศึกษา และทำความเข้าใจแนวทางและพัฒนาการที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอนและการดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม รวมถึงครูจะต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อเป็นผู้อบรมสั่งสอนควบคู่กันไปกับการเรียนรู้เพื่อการดำรงชีวิตอยู่อย่างเหมาะสม และพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ทางด้านไอที ควบคู่กับการมีคุณธรรมจริยธรรมได้แล้วก็จะถือว่า ครูยุคดิจิทัลได้ประสบผลสำเร็จในการพัฒนานักเรียนแล้ว
               ครูในยุคดิจิทัล  จึงต้องปรับตัวให้เข้ากับการเรียนรู้ ให้เท่าทันยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย ทั้งนี้ต้องพัฒนาทักษะ บทบาทหน้าที่ มาตรฐานความสามารถและรูปแบบการใช้สื่อในการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถชี้แนะและส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตลอดเวลา ครูในยุคดิจิทัล ต้องดำเนินการทั้งด้านนโยบาย และด้านการพัฒนาตนเองของครูควบคู่กันไป โดยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนต้องเน้นการเรียนรู้ในห้องเรียนออนไลน์ยุคใหม่ (MOOC) เป็นการศึกษาการศึกษาทางไกล มุ่งส่งเสริม การเรียนรู้ตลอดชีวิต การจัดการทรัพยากรการเรียนรู้ร่วมกัน และ การสื่อสารการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook  Google+ Twitter หรือ วิกิและพื้นที่สาธารณะ ของกลุ่มอย่าง Wikipedia ซึ่งเป็นแหล่งรวมกลุ่มผู้คนใน ลักษณะเครือข่าย หรือชุมชนเสมือน แหล่งของความรู้ที่เปิดสารธารณะ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางสังคมในกลุ่มคนที่มีความสนใจในสิ่งต่าง ๆ ร่วมกัน  และรูปแบบการสอนโดยใช้ Google App โดยผ่านแอปพลิเคชันที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย Google ทำให้ครูผู้สอนมีเวลามากขึ้นในการเตรียมการสอนได้เต็มที่ การสอนง่ายขึ้น ลดเวลาในการสอนน้อยลงสามารถเพิ่มเนื้อหาและจุดมุ่งหมายในการสอนมากขึ้น 

ที่มา : http://ruletheroomtrainthetrainer.com/train-world-class-trainers-blog/







บรรณานุกรม
ชฎาพร จิตศิลป์. ครู “ยุคไอที” . (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :
https://www.gotoknow.org/posts/490852. (สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2558).
ชัยยศ เดชสุระ. เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่ 21 . (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :
http://journal.pim.ac.th/uploads/content/2014/12/o_
1984rdsj8vr8nc715d1ml0vqd1a.pdf. (สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2558).
โชคชัย ชยธวัช. (2547) . ครูพันธุ์ใหม่. กรุงเทพฯ : วรรณสาส์น.
ประกอบ กรณีกิจและคณะ. (2557). รวมบทความเรื่องเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. กรุงเทพฯ :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พระสุพิน สุภโณ. บทบาทของครูในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :
https://sites.google.com/site/khruyukhxithi/home/bthbath-khxng-khru-yukh-it. (สืบค้นเมื่อ
วันที่ 12 ธันวาคม 2558).
บุปผา ทองสาย, ชัยรัตน์ จุสปาโล “ บทบาทครูกับนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ ” 2560
อธิปัตย์ คลี่สุนทร. (2555). INTERNET และ SCHOOLNET กับการเสริมสร้างคุณภาพการศึกษาไทย. เอกสารอัดสำเนา.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น