เทคโนโลยีเสมือนจริงเพื่อการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล
สุเมธ ราชประชุม
นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
การใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงในห้องเรียนมีข้อดี คือ สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์พิเศษ นักเรียนมีความสนใจในการเรียนสูงขึ้น และการเรียนรู้ที่เร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และข้อจำกัด คือต้องมีการฝึกอบรมการใช้งานแอพลิเคชั่น ข้อจำกัดด้านฮาร์ดแวร์ และปัญหาเกี่ยวกับการผลิตเนื้อหา
การใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน สามารถช่วยดึดดูดความสนใจผู้เรียนได้เป็นอย่างดี สามารถจัดทำเป็นหนังสือสื่อเสริม จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาที่ยากได้ดีกว่าหนังสือปกติ แอพลิเคชันที่ใช้ในการเรียนการสอนปัจจุบัน แบ่งเป็น 1) ความเป็นจริงเสมือนในห้องเรียน และ2) การเรียนทางไกล
แนวโน้มในอนาคตของการใช้สื่อ AR ในการศึกษา ในอนาคตอันใกล้ การออกแบบและสร้างภาพเสมือนสามมิติ ในรูปแบบเทคโนโลยีเสมือนจริง จะไม่ได้ถูกจำกัดเพียงแค่ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ทุกคนจะสามารถออกแบบและสร้างขึ้นมาเองได้อย่างง่าย ๆ ในเวลาไม่นาน และไม่เสียค่าใช้จ่าย
ที่มา : http://www.purehealthmojo.site/2018/03/09/what-is-erythritol-organic-facts/
อ้างอิง
ภาษาไทย
กอบเกียรติ สระอุบล และพัลลภ พิริยะสุรวงศ์. (2557). “สื่อการสอนช่วยลดภาระทางปัญญาสำหรับการศึกษา
ในยุคดิจิทัล.” วารสารปัญญาภิวัฒน์. ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (กรกฎาคม – ธันวาคม) : หน้า 198 – 207.
พนิดา ตันศิริ. (2553). “โลกเสมือนผสานโลกจริง” .วารสารนักบริหาร. 30(2) : หน้า 169-75
ดร.วิวัฒน์ มีสุวรรณ์ .(2554).การเรียนรู้ด้วยการสร้างโลกเสมือนผสานโลกจริง.วารสารศึกษา .
มหาวิทยาลัยนเรศวร. From URL http://www.edu.nu.ac.th/wiwatm/
ภาษาต่างประเทศ
Derek E. Baird. (2017). Augmented Reality Apps for Education . Retrieved May 5, 2017 From
URL https://virtualrealitypop.com/aredu-educational-augmented-reality-apps-
5e6599529807
Eastern Peak. (2018). Augmented Reality in Education: The Hottest EdTech Trend 2018
and How to Apply It to Your Business. Retrieved May 5, 2017
From URL http://gg.gg/a4z2f
Hamilton, K. E. (2011). Augmented Reality in Education. Retrieved May 5, 2017,
From URL http://wik.ed.uiuc.edu/articles/a/u/g/Augmented_Reality_in_Education_51fa.html
Lars Linsen. (2016). Visualization in Medicine and Life Sciences III: Towards Making
an Impact.Springer : Switzerland, P.151)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น