วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

บทความเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ในยุคดิจิทัล



รวมบทความ
  1. รูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสอนของครู
  2. อีเลิร์นนิ่ง (e-learning: Electronic Learning) 
  3. ความจริงเสมือน (Virtual Reality : VR) 
  4. ห้องเรียนอัจฉริยะ
  5. ผู้เรียนในยุคดิจิทัล
  6. สะเต็มศึกษา STEM Education นวัตกรรมการเรียนการสอน
  7. Cloud Computing กับการศึกษาไทยในยุคดิจิทัล
  8. การศึกษาแบบเปิดกว้างด้วย MOOC 
  9. เทคโนโลยีเสมือนจริงเพื่อการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล
  10. สมาร์ทโฟน กับการศึกษาในยุคดิจิทัล
  11. สื่อสังคมออนไลน์กับการศึกษาไทยในยุคดิจิทัล
  • วิธีการเข้าชม AR

  •   1. ดาวน์โหลดแอพลิเคชั่น HP Reveal
IOS

Android

  •   2. สแกน QR Code ด้วย QR Code Reader หรือ แอพลิเคชัน Line    หรือค้นหา  digital21    ในแอพลิเคชั่น HP Reveal

digital21's Public Auras



  • 3. กด Follow “digital21” ในแอพลิเคชั่น HP Reveal 

  • 4. ใช้งานโดยแสกนรูปภาพที่มีสัญลักษณ์ 
                              

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

สื่อสังคมออนไลน์กับการศึกษาไทยในยุคดิจิทัล

สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media ) หมายถึง สื่อดิจิทัลที่เป็นเครื่องมือ ซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างกันในเครือข่ายทางสังคม (Social Network) ผ่านทางเว็บไซต์ (website) และโปรแกรม (program) ประยุกต์บนเครื่องมือสื่อสารจำพวก อิเล็กทรอนนิก (electronic) ที่มีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต (internet) โดยเน้นให้ผู้ใช้ทั้งที่เป็นผู้ส่งสารและผู้รับสารนั้นมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งการนำมาใช้ในการสร้างสรรค์ในงานต่างๆนั้นมีหลากหลายประเภทให้เลือกใช้ตามประเภทของสื่อสังคมออนไลน์
มีการนำสื่อสังคมออนไลน์ มาปรับและประยุกต์ใช้กับการศึกษา นั้นเหตุผลสำคัญของการนำเอาสื่อสังคม ( Social Media ) มาใช้ร่วมกับการเรียนการสอน  กล่าวคือ
1. สื่อสังคมออนไลน์ เป็นสื่อที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำให้ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น ซึ่งการนำเอาสื่อประเภทเหล่านี้เข้ามาใช้ในโรงเรียน จะสนองต่อจุดประสงค์สำคัญ และเป้าหมายที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนได้ (คิดเหมาะ, 2013)
2.  การนำเอาสื่อสังคมออนไลน์ มาใช้ในโรงเรียน เป็นการเพิ่มช่องทาง ที่มีความเหมาะสมสำหรับผู้ใช้ (ผู้สอนและผู้เรียน) ที่จะสามารถพัฒนารูปแบบการสื่อสารได้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะการสื่อสารผ่านการใช้เว็บไซต์ (Trisittiwat, 2018)  สรุปการนำสื่อสังคมออนไลน์ มาประยุกต์ใช้ นั้นควรจะวิเคราะห์ทางกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสำหรับผู้ใช้


ที่มา : https://www.adlibbing.org/2018/02/12/4-lessons-from-top-social-media-publishers/



บรรณานุกรม
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). สื่อสังคม-เครือข่ายสังคม. บทวิทยุรายการรู้รักภาษาไทย. [ออนไลน์].
        เข้าถึงเมื่อ 12 พฤษภาคม 2561, เข้าถึงได้จาก http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=4357
Cambridge University Press. (2009). Cambridge.
Elizabeth F. Churchill. (2012). Social Media Meaning. Proceeding of the 2012 international. workshop on Socially-aware multimedia. New York. USA : Pages 43-44.
อรอุมา ศรีสุทธิพันธ์. (2547). “ความคิดเห็นและพฤติกรรมการเปิดรับสื่ออินเตอร์เน็ตกับรูปแบบการ ดำรงชีวิตของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในเขตกรุงเทพมหานคร.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์  มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ทัตธนันท์ พุ่มนุช. 2553. “การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคม (Social Network) เพื่อพัฒนาในการ ปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษาในสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม.” Veridian E-Journal. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. Vol.5 No. 1 January – April 2012:  หน้า 523-540.
สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2017). Retrieved from http://academic.obec.go.th/newsdetail.php?id=48
Trisittiwat, N. (2018). การประยุกต์ใช้ Social Network และ Social Media สำหรับการศึกษา. Retrieved from http://edutech14.blogspot.com/2014/05/social-network-social-media.html

วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561

รูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสอนของครูในยุคดิจิทัล

สัญญา องคะลอย
นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 
สาขาวิชาศึกษาศาสตร์


               ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามามีบทบาทและอิทธิพลต่อชีวิตมนุษย์เพิ่มขึ้น ดังนั้นครูควรต้องพยายามติดตาม ศึกษา และทำความเข้าใจแนวทางและพัฒนาการที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอนและการดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม รวมถึงครูจะต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อเป็นผู้อบรมสั่งสอนควบคู่กันไปกับการเรียนรู้เพื่อการดำรงชีวิตอยู่อย่างเหมาะสม และพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ทางด้านไอที ควบคู่กับการมีคุณธรรมจริยธรรมได้แล้วก็จะถือว่า ครูยุคดิจิทัลได้ประสบผลสำเร็จในการพัฒนานักเรียนแล้ว
               ครูในยุคดิจิทัล  จึงต้องปรับตัวให้เข้ากับการเรียนรู้ ให้เท่าทันยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย ทั้งนี้ต้องพัฒนาทักษะ บทบาทหน้าที่ มาตรฐานความสามารถและรูปแบบการใช้สื่อในการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถชี้แนะและส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตลอดเวลา ครูในยุคดิจิทัล ต้องดำเนินการทั้งด้านนโยบาย และด้านการพัฒนาตนเองของครูควบคู่กันไป โดยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนต้องเน้นการเรียนรู้ในห้องเรียนออนไลน์ยุคใหม่ (MOOC) เป็นการศึกษาการศึกษาทางไกล มุ่งส่งเสริม การเรียนรู้ตลอดชีวิต การจัดการทรัพยากรการเรียนรู้ร่วมกัน และ การสื่อสารการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook  Google+ Twitter หรือ วิกิและพื้นที่สาธารณะ ของกลุ่มอย่าง Wikipedia ซึ่งเป็นแหล่งรวมกลุ่มผู้คนใน ลักษณะเครือข่าย หรือชุมชนเสมือน แหล่งของความรู้ที่เปิดสารธารณะ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางสังคมในกลุ่มคนที่มีความสนใจในสิ่งต่าง ๆ ร่วมกัน  และรูปแบบการสอนโดยใช้ Google App โดยผ่านแอปพลิเคชันที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย Google ทำให้ครูผู้สอนมีเวลามากขึ้นในการเตรียมการสอนได้เต็มที่ การสอนง่ายขึ้น ลดเวลาในการสอนน้อยลงสามารถเพิ่มเนื้อหาและจุดมุ่งหมายในการสอนมากขึ้น 

ที่มา : http://ruletheroomtrainthetrainer.com/train-world-class-trainers-blog/







บรรณานุกรม
ชฎาพร จิตศิลป์. ครู “ยุคไอที” . (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :
https://www.gotoknow.org/posts/490852. (สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2558).
ชัยยศ เดชสุระ. เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่ 21 . (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :
http://journal.pim.ac.th/uploads/content/2014/12/o_
1984rdsj8vr8nc715d1ml0vqd1a.pdf. (สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2558).
โชคชัย ชยธวัช. (2547) . ครูพันธุ์ใหม่. กรุงเทพฯ : วรรณสาส์น.
ประกอบ กรณีกิจและคณะ. (2557). รวมบทความเรื่องเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. กรุงเทพฯ :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พระสุพิน สุภโณ. บทบาทของครูในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :
https://sites.google.com/site/khruyukhxithi/home/bthbath-khxng-khru-yukh-it. (สืบค้นเมื่อ
วันที่ 12 ธันวาคม 2558).
บุปผา ทองสาย, ชัยรัตน์ จุสปาโล “ บทบาทครูกับนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ ” 2560
อธิปัตย์ คลี่สุนทร. (2555). INTERNET และ SCHOOLNET กับการเสริมสร้างคุณภาพการศึกษาไทย. เอกสารอัดสำเนา.

อีเลิร์นนิ่ง (e-learning: Electronic Learning) กับแนวโน้มการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล

              e-learning เป็นรูปแบบหนึ่งของการเรียน อาจเป็นได้ทั้ง Offline, Online, server-based, web-based เป็นการเรียนรู้บนฐานเทคโนโลยี e-learning นั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ Synchronous คือผู้เรียนและผู้สอนอยู่ในเวลาเดียวกัน และ Asychronous คือผู้เรียนและผู้สอนไม่ได้อยู่ในเวลาเดียวกัน
              ลักษณะการเรียนรู้แบบออนไลน์มีลักษณะสำคัญคือ ผู้เรียนจะเป็นใครก็ได้ มาจากที่ใดก็ได้ และเรียนเวลาใดก็ได้ตามความต้องการของผู้เรียน สื่อที่นำเสนอนั้น เป็นรูปแบบของสื่อประสม ผู้เรียนมีอิสระในการเลือกเรียนเนื้อหาในส่วนใดก่อน-หลังก็ได้ และเอกสารต่าง ๆ ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับเนื้อหาได้โดยอัตโนมัติ ส่วนการนำ e-learning ไปใช้ประกอบกับการเรียนการสอน สามารถทำได้เป็นสื่อเสริม สื่อเติม และสื่อหลัก สื่อเสริม เป็นแบบที่ผู้เรียนยังสามารถศึกษาเนื้อหาเดียวกันนี้ในลักษณะอื่น ๆ ส่วนสื่อเติม จะเป็นการนำ e-learning ไปใช้ในลักษณะเพิ่มเติมจากวิธีการสอนในลักษณะอื่น ๆ และสื่อหลัก จะเป็นการนำ e-learning ไปใช้ในลักษณะแทนที่การบรรยายในห้องเรียน
              ในอนาคตอันใกล้การเรียนแบบ e-learning ในเมืองไทยจะต้องมีมากขึ้น เนื่องจากเป็นวิธีการเรียนรู้ที่มีประโยชน์ในระยะยาวและได้รับความนิยมในต่างประเทศ เพราะข้อได้เปรียบของ                e-learning คือผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ ใช้งานง่าย การปรับเปลี่ยนเนื้อหาทำได้ไม่ยาก สามารถกระจายความรู้ได้รวดเร็ว ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนผู้สอน และ e-learning นี้ก็จะเป็นเส้นทางหนึ่งที่ช่วยพัฒนาแต่ละประเทศให้สามารถเข้าสู่สังคมยุคไอทีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในหลาย ๆ รูปแบบจึงถูกนำมาใช้ในการเรียนการสอนมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อจะเป็นการเตรียมความพร้อมทรัพยากรมนุษย์ให้พร้อมที่จะเข้าสู่สังคมยุคต่อไป



ที่มา : http://decorequired.com/2018/04/15/how-to-use-analogies-in-elearning/





ความจริงเสมือน (Virtual Reality : VR) กับแนวโน้มการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล

สุชาดา ธนาวุฒิ
นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช


        ปัจจุบันเป็นการเรียนรู้ในโลกยุคดิจิทัลที่มีเทคโนโลยีความจริงเสมือนมาช่วยส่งเสริมผู้เรียนให้มีโอกาสในการเรียนรู้บางสิ่งบางอย่างที่ตัวอักษรและภาพไม่สามารถที่จะอธิบายได้ชัดเจน
        ความจริงเสมือน (Virtual Reality : VR) เป็นการจำลองบรรยากาศหรือสถานการณ์โดยต้องผ่านอุปกรณ์สารสนเทศ ที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องอยู่ในสถานที่หรือเกี่ยวเนื่องกับพื้นที่นั้น ขณะที่ใส่แว่นความจริงเสมือนผู้ใช้จะได้เห็นสถานที่ต่าง ๆ เสมือนจริงมาอยู่ในแว่น เช่น ใต้ท้องทะเลลึก หรืออวกาศนอกโลก จะมีการจำลองบรรยากาศรอบข้าง โดยความจริงเสมือนจะช่วยให้ผู้เรียนมีความสนใจและความกระตือรือร้นในการเรียนรู้มากขึ้นกว่าการเรียนรู้จากการอ่านแค่ในตำรา
        ความจริงเสมือนมีข้อดี ดังนี้ (1) ท่องเที่ยวสำรวจโลกโดยไม่ต้องออกจากห้องเรียน (2) สัมผัสประสบการณ์เสมือนจริง (3) เดินทางข้ามเวลาไปยังสถานที่และเหตุการณ์สำคัญจากอดีต (4) สำรวจภายในร่างกายมนุษย์ (5) สร้างสรรค์จินตนาการให้กับนักเรียน และ (6) กระตุ้นความอยากรู้และความสงสัยของนักเรียน แต่ความจริงเสมือนก็มีข้อจำกัด ดังนี้ (1) อุปกรณ์มีราคาสูง (2) เทคโนโลยีซับซ้อนมากเกินกว่าจะใช้ได้ในห้องเรียนธรรมดา (3) ซอฟต์แวร์บทเรียนยังมีจำกัดในเรื่องที่จะใช้เรียน (4) ส่งผลเสียต่อระบบการมองเห็น และ (5) เสี่ยงต่อการดูสื่อลามกหรือการเล่นเกมที่มีเนื้อหารุนแรง
        ดังนั้นผู้สอนควรสร้างสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบของความจริงเสมือน เพื่อให้เทคโนโลยีความจริงเสมือนสามารถที่จะนำมาใช้ในสถาบันการศึกษาได้


ที่มา : https://www.creativecitizen.com/bully-vr/







อ้างอิง
เกษม เมษินทรีย์. (2559). ยุทธศาสตร์และการปฏิรูปสู่การเป็นไทยแลนด์ 4.0. กรุงเทพฯ : 
กระทรวงศึกษาธิการ.
กรุงเทพธุรกิจ. สื่อเสมือนจริงเปิดประตูห้องเรียน 4.0. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2561. จาก
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/754556
ปิยพร อรุณเกรียงไกร. การเรียนรู้ที่โลกเสมือนมาบรรจบกับความจริง. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2561.
จาก https://themomentum.co/successful-innovation-design-e-learning-ar-and-vr/
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. Virtual reality (VR). สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2561. จาก https://th.wikipedia.
org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%
8A%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0
%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B5
วิรัช ปัณฑ์ศิริโรจน์.VR เทคโนโลยีสำหรับการเรียนรู้ยุค4.0. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2561. จาก 
https://www.applicadthai.com/articles/article-education/vr
สยมล วิทยาธนรัตนา. เทคโนโลยีความจริงเสมือนในอนาคต. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2561. จาก 
http://www.etatjournal.com/web/menu-read-web-etatjournal?catid=0&id=321

ห้องเรียนอัจฉริยะ

          ห้องเรียนอัจฉริยะ  คือห้องเรียนหรือแหล่งการเรียนรู้ที่จัดทำขึ้นในลักษณะพิเศษเฉพาะที่แตกต่างจากห้องเรียนโดยทั่วไป เพื่อใช้เสริมสร้างประสบการณ์การเรียนการสอน การฝึกอบรม รวมทั้งการฝึกทักษะความรู้ในด้านต่างๆ เน้นการสร้างปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนร่วมกันจากเทคโนโลยีที่หลากหลายทั้งในระบบชั้นเรียนปกติ นอกชั้นเรียน และการเรียนแบบทางไกล
          ห้องเรียนอัจฉริยะควรมุ่งเน้นกระบวนการออกแบบที่สะท้อนมุมมองและกระบวนการที่เกิดการสร้างความรู้ เกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์  คิดสังเคราะห์ การประมวลผลการคิดเชิงสร้างสรรค์ โดยเน้นการใช้เทคโนโลยี และปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบแก้ปัญหา โครงงานและเรียนแบบร่วมมือเน้นการมีปฏิสัมพันธ์ ฯลฯ
           ขั้นตอนการออกแบบห้องเรียนอัจฉริยะ คือ กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้  วิเคราะห์บริบทการเรียนรู้  วิเคราะห์ผู้เรียน   เลือกวิธีการเรียนการสอน  การเตรียมแหล่งสนับสนุนการเรียนการสอน และการประเมินที่ครอบคลุมรอบด้าน แบบ 360 องศา คือ ความก้าวหน้าในการเรียน ผลการเรียน และผลย้อนกลับจากการเรียน เพื่อตรวจสอบผู้เรียนว่าเกิดทักษะต่างๆครบถ้วนหรือไม่ จากการเรียนผ่านสื่อในห้องเรียนอัจฉริยะได้ด้วยตนเอง
           ในประเทศไทยห้องเรียนอัจฉริยะ ถือเป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยควรปรับใช้ตามรูปแบบที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในแต่ละสถานศึกษาเป็นหลัก เนื่องจากนวัตกรรมใหม่ๆไม่ได้หมายความว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดเสมอไป แต่ขึ้นอยู่กับการปรับใช้ให้เหมาะสมกับผู้สอนและผู้เรียน

ที่มา : http://tisk.in/home/resources/smart-class/








ผู้เรียนในยุคดิจิทัล

กนกพร   เมโฆ

           สถานการณ์และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่นั้น เทคโนโลยีเป็นส่วนผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบการศึกษาและกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทำให้เกิดการเรียนรู้แบบใหม่  ซึ่งเป็นโอกาสอันดีของผู้เรียนในการเลือกรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเอง  นำไปสู่พฤติกรรมและความต้องการการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ต้องการพัฒนาทักษะความรู้ในการทำงาน ทักษะชีวิตและความรู้ในชีวิตประจำวันโดยวิธีหาความรู้เพิ่มเติม จากสื่อต่าง ๆ มากขึ้น  โดยเป็นผู้มีคุณธรรม มีนิสัยใฝ่เรียนรู้  ใช้ภาษาได้อย่างน้อย  2 ภาษา  มีพื้นฐานและทักษะการคำนวณที่ดี  สามารถเล่นดนตรีและกีฬา  มีวิธีการคิดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง  พร้อมเผชิญปัญหามีอิสระ  เป็นตัวของตัวเองและสามารถสร้างนวัตกรรมต่อทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตได้  มีทักษะการอ่านออก  เขียนได้  คิดเป็น มีวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์  เข้าใจความแตกต่าง  ทำงานเป็นทีม  รู้เท่าทันสื่อฯ  มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์  ทักษะอาชีพ  และมีคุณธรรม (ตามหลัก 3R  และ  8C)  จากคุณลักษณะดังกล่าวทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ในยุคดิจิทัล  ซึ่งได้เรียนรู้จากชีวิตจริงและจากกระบวนการคิด   มีความหลากหลายทางด้านปัญญาและสามารถเรียนรู้จากสังคม  โดยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน  ทำให้สามารถเรียนรู้ได้ลึกซึ้งมากขึ้นจากการลงมือปฏิบัติและการได้ร่วมทีมเรียนรู้  ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพพร้อมเผชิญปัญหาและสามารถเลือกวิธีแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม  ส่งผลให้เกิดความเจริญก้าวหน้าต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคตต่อไป

 

ที่มา : http://www.dz-gen.com/forger-sa-personnalite-avec-la-culture-2/









สะเต็มศึกษา STEM Education นวัตกรรมการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล : ทรายทอง เกตุพลอย

สะเต็มศึกษา นวัตกรรมการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล

ทรายทอง เกตุพลอย
นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

การศึกษาแบบ STEM Education เป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนแบบใหม่ที่เชื่อมโยงเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โดยการสืบเสาะหาความรู้ให้ผู้เรียนได้ศึกษาประเด็นปัญหา หรือตั้งคำถามแล้วหาคำอธิบายด้วยตนเอง การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน การสร้างสรรค์ชิ้นงาน การบูรณาการเทคโนโลยีที่เหมาะสมสู่กระบวนการเรียนรู้ มุ่งเน้นทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่ครอบคลุม 4c คือ การคิดเชิงวิพากษ์ การสื่อสาร การทำงานร่วมกัน และการคิดสร้างสรรค์
การบูรณาการเทคโนโลยีที่เหมาะสมสู่กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน โดยการนำสื่อมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในยุคไทยแลนด์ 4.0 ผู้สอนได้รับการพัฒนาให้สามารถผลิตสื่อขึ้นเองเพื่อใช้จัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนซึ่งใช้โปรแกรมต่าง ๆ ได้แก่ Scratch, GeoGebra, HyperSnap และ Adobe Captivate เป็นต้น และผู้เรียนสามารถใช้สื่อสังคมในการเรียนรู้ทั้งเป็นสื่อหลัก สื่อเสริม และสื่อเพิ่มเติม  ได้แก่ weblogs,  Social Networking, Wiki, Virtual Worlds, Cloud computing, LINE, YouTube, Facebook, Twitter เป็นต้น เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนเข้าสู่โลกของเทคโนโลยียุคดิจิทัล


ที่มา : http://www.mytec.co.in/






อ้างอิง
จันทวรรณ ปิยะวัฒน์ (2561) “บล็อก (Blog or Weblog) คืออะไร”บทความออนไลน์ ค้นคืนวันที่ 5 มิถุนายน 2561 จาก https://www.gotoknow.org/user/jantawan/profile
ปัณญานัตย์ วิเศษสมวงศ์ (2561) “ส่วนอาเซียนสำนักการประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ” บทความออนไลน์
             จาก http://www.aseanthai.net/special-news-detail.php?id=127)
พรทิพย์ ศิริภัทราชัย (2556) “STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21” วารสารนักบริหาร 
  Executive Journal ปีที่ 33 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2556 บทความออนไลน์  ค้นคืนวันที่ 5 
  มิถุนายน 2561 จาก http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/
สุทธิพร    ใจกว้าง (2560) “ทำไมต้องเป็นการเรียนรู้แบบสะเต็ม”บทความออนไลน์ ค้นคืนวันที่ 5 มิถุนายน 
   2561 จาก http://mcpswis.mcp.ac.th/ 
ศุภณัฐ ชัยดี (2015) “GeoGebra เพื่อชีวิตที่ดีกว่าสำหรับชาวคณิตศาสตร”บทความออนไลน์ ค้นคืนวันที่ 
   5 มิถุนายน 2561 จาก https://schaidee.files.wordpress.com/2015/

Cloud Computing กับการศึกษาไทยในยุคดิจิทัล

           หมายถึง  ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีการประมวลผลอยู่ในระบบอินเทอร์เน็ต  บนรูปแบบของโครงสร้างการประมวลผลขนาดใหญ่ที่ทำงานร่วมกัน ผู้ใช้มองเห็นทรัพยากรผ่านทางบริการระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  ผู้ใช้เข้าถึงการประมวลผลและการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ และร่วมกันแบ่งปันทรัพยากรการประมวลผลร่วมกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
         การใช้งาน Cloud Computing  การสั่งงานด้วยอีเมลล์ระหว่างครูและนักเรียน   การพัฒนาเว็บไซต์ E-Learning ของครูการสร้างสรรค์บทเรียน สื่อการเรียนการสอน  และประยุกต์ใช้กับสื่อสังคม เช่น Facebook  Youtube  Twitter, Line, Google Group 
         ระบบการประมวลผลแบบกลุ่มในงานทางการศึกษา สามารถทํางานจากเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ หลายเครื่อง ช่วยในการสอนและการเรียนรู้จากบทเรียนเดียวกันได้จากทุกที่ ทุกเวลาพร้อม สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ได้มากกมายและหลากหลาย แม้ว่าจะไม่อยู่ในชั้นเรียน  ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการลงทุน เช่น ใช้บริการ อีเมล์สําหรับสถาบันกับ Google หรือ Microsoft แทนที่ระบบเดิมที่ต้องติดตั้งอุปกรณ์ระบบสื่อสาร หรืออื่นๆ อีกมากมายภายในองค์
         ข้อควรคำนึงของ Cloud Computing    ไม่ใช่ว่าทุกแอพพลิเคชั่นที่ให้บริการจะสามารถใช้งานบนระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆเพื่อสาธารณะได้ เพราะบางแอพพลิเคชั่นจัดทําขึ้นมาเพื่อจําหน่าย หรือเพื่อทางธุรกิจเท่านั้น ข้อมูลบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน ผู้สอน ผู้เรียน ที่เป็นความลับ หรือมีผลต่อความอ่อนไหว จะไม่ถูกควบคุมโดยโรงเรียนหรือครูอีกต่อไป


ที่มา : https://www.iterorecruitment.co.uk/cloud-computing/





อ้างอิง
- การประยุกต์ใช้ Cloud computing เพื่อพัฒนาการจัดการการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
http://libsis.lib.su.ac.th/snclibblog/?p=36178 
- การนำไอทีและเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้พัฒนาชีวิต ธุรกิจ และการศึกษาhttps://www.it24hrs.com/2015/cloud-computing-for-life-business-education/
- 123rf.com/photo_11980031_education-school-tablet-pc-cloud-computing-concept.html
- Cloud Computing คืออะไร - Cloudcomputingbc26 - Google Siteshttps://sites.google.com/site/cloudcomputingbc26/home/thekhnoloyi-cloud-computing-1

- https://earth008.wordpress.com/2013/08/15/cloud-computing

การศึกษาแบบเปิดกว้างด้วย MOOC (Massive Open Online Course)

การศึกษาแบบเปิดกว้างด้วย MOOC



        Mooc คือ ระบบการเรียนการสอนออนไลน์ขนาดใหญ่ เป็นระบบการเรียนการสอนในรูปแบบ Open Course นำเสนอการเรียนรู้หลักสูตรต่างๆ ทางออนไลน์ โดยส่วนใหญ่เป็นการให้บริการฟรี เน้นการเรียนรู้ร่วมกัน การให้ความรู้ในเชิงวิชาการแบบเปิดกว้าง  สามารถรองรับจำนวนรายวิชาได้จำนวนมากเป็นล้านๆรายวิชา รองรับผู้เข้าเรียนในรายวิชาได้พร้อมกันจำนวนมากๆ ระบบการบริการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ที่การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนได้เป็นอย่างดี สามารถสร้างแบบจำลองการจัดการเรียนการสอนแบบเผชิญหน้าที่เรียกว่า ห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classroom) มีการออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้อาจารย์สามารถเก็บข้อมูลของนักศึกษาได้ง่ายขึ้นสามารถแสดงผลได้เป็นอย่างดีกับอุปกรณ์สื่อสารทุกชนิดทั้งคอมพิวเตอร์, พีซี, สมาร์ทโฟน, และแท๊บแล็ต

ที่มา : http://www.qs.com/are-moocs-becoming-more-important/






อ้างอิง
สุมาลี สังข์ศรี. (2549). การศึกษาทางไกล. นนทบุรี: มหาวิยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 
http://MOOC.thaicyberu.go.th/standard/fullpaperMOOCStandard_TCU2017.pdf
https://oer.learn.in.th/index
http://MOOC.thaicyberu.go.th/index.php?option=com_sppagebuilder&view=page&id=18&Itemid=515
STOU Free Media, Retrieved from http://www.stou.ac.th/Home/FreeMedia.html. 
STOU Learning Object Module, Retrieved from http://www.stou.ac.th/stouonline/LOM. 
STOU Online Courseware, Retrieved from http://stouonline.stou.ac.th/courseware/courses/.
http://MOOC.thaicyberu.go.th

เทคโนโลยีเสมือนจริงเพื่อการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล : สุเมธ ราชประชุม

เทคโนโลยีเสมือนจริงเพื่อการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล

สุเมธ ราชประชุม
นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

เทคโนโลยีเสมือนจริง (Augmented Reality Technology : AR) คือ เทคโนโลยีการผสมผสานโลกเสมือน เพิ่มเข้าไปในโลกแห่งความเป็นจริง นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีเสมือนจริงมีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 จัดเป็นแขนงหนึ่งของงานวิจัยด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันเทคโนโลยีเสมือนจริงถูกนำ มาประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านอุตสาหกรรม การแพทย์ การตลาด การบันเทิง การสื่อสาร และการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงในห้องเรียนมีข้อดี คือ สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์พิเศษ นักเรียนมีความสนใจในการเรียนสูงขึ้น และการเรียนรู้ที่เร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และข้อจำกัด คือต้องมีการฝึกอบรมการใช้งานแอพลิเคชั่น ข้อจำกัดด้านฮาร์ดแวร์ และปัญหาเกี่ยวกับการผลิตเนื้อหา
การใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน สามารถช่วยดึดดูดความสนใจผู้เรียนได้เป็นอย่างดี สามารถจัดทำเป็นหนังสือสื่อเสริม จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาที่ยากได้ดีกว่าหนังสือปกติ แอพลิเคชันที่ใช้ในการเรียนการสอนปัจจุบัน แบ่งเป็น 1) ความเป็นจริงเสมือนในห้องเรียน และ2) การเรียนทางไกล
แนวโน้มในอนาคตของการใช้สื่อ AR ในการศึกษา ในอนาคตอันใกล้ การออกแบบและสร้างภาพเสมือนสามมิติ ในรูปแบบเทคโนโลยีเสมือนจริง จะไม่ได้ถูกจำกัดเพียงแค่ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ทุกคนจะสามารถออกแบบและสร้างขึ้นมาเองได้อย่างง่าย ๆ ในเวลาไม่นาน และไม่เสียค่าใช้จ่าย

ที่มา : http://www.purehealthmojo.site/2018/03/09/what-is-erythritol-organic-facts/




อ้างอิง
ภาษาไทย
กอบเกียรติ สระอุบล และพัลลภ พิริยะสุรวงศ์. (2557). “สื่อการสอนช่วยลดภาระทางปัญญาสำหรับการศึกษา
ในยุคดิจิทัล.” วารสารปัญญาภิวัฒน์. ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (กรกฎาคม – ธันวาคม) : หน้า 198 – 207.
พนิดา ตันศิริ. (2553). “โลกเสมือนผสานโลกจริง” .วารสารนักบริหาร. 30(2) : หน้า 169-75
ดร.วิวัฒน์ มีสุวรรณ์ .(2554).การเรียนรู้ด้วยการสร้างโลกเสมือนผสานโลกจริง.วารสารศึกษา . 
    มหาวิทยาลัยนเรศวร. From URL  http://www.edu.nu.ac.th/wiwatm/  
ภาษาต่างประเทศ
Derek E. Baird. (2017). Augmented Reality Apps for Education . Retrieved May 5, 2017 From 
URL https://virtualrealitypop.com/aredu-educational-augmented-reality-apps-   
          5e6599529807
Eastern Peak. (2018). Augmented Reality in Education: The Hottest EdTech Trend 2018 
and How to Apply It to Your Business. Retrieved May 5, 2017 
From URL  http://gg.gg/a4z2f
Hamilton, K. E. (2011). Augmented Reality in Education. Retrieved May 5, 2017,
From URL http://wik.ed.uiuc.edu/articles/a/u/g/Augmented_Reality_in_Education_51fa.html
Lars Linsen. (2016). Visualization in Medicine and Life Sciences III: Towards Making 
an Impact.Springer : Switzerland, P.151)

สมาร์ทโฟน กับการศึกษาในยุคดิจิทัล

  สมาร์ทโฟน หมายถึง  เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีความสามารถที่เพิ่มเติมนอกเหนือจากโทรศัพท์มือถือทั่วไป ซึ่งสมาร์ทโฟนได้ถูกมองว่าเป็นคอมพิวเตอร์พกพาที่ทำงานในลักษณะของโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยสามารถเชื่อมต่อความสามารถหลักของโทรศัพท์มือถือ เข้าร่วมกับแอพพลิเคชั่นของโทรศัพท์เอง สมาร์ทโฟนยังสามารถให้ผู้ใช้งานติดตั้งโปรแกรมเสริมสำหรับเพิ่มความสามารถของศัพท์ของตนเอง และสมาร์ทโฟนได้ กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของนักเรียน ซึ่งสามารถสังเกตได้ทั้งการใช้อย่างเปิดเผยและการแอบใช้ในชั้นเรียน ที่ผ่านมามีงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่า นักเรียนมักนำสมาร์ทโฟนมาใช้ในเวลาเรียนทั้งในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ และในขณะเดียวกันก็ นำมาใช้ในเรื่องส่วนตัวด้วย เช่น การใช้งานอินเทอร์เน็ต การเล่นเกม และการใช้งานสื่อสังคมในยุคดิจิทัล
  คุณสมบัติของการเรียนรู้ผ่านสมาร์ทโฟน คือ 1.ด้านของผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนค้นหาข้อมูลเรื่องที่เรียนผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตบนเครื่องสมาร์ทโฟนของผู้เรียนเอง ผู้สอนสามารถนำสมาร์ทโฟนของตนเองเป็นสื่อกลางในการเรียนการสอน โอยการเปิดบทเพลง คลิปวิดีโอ หรือรูปภาพ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน 2.ด้านของผู้เรียนสามารถใช้สมาร์ทโฟนในการค้นหาข้อมูลเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นทางการศึกษาเพื่อหาความรู้เพิ่มเติมได้ และสามารถจัดเตรียมเอกสาร สื่อการเรียนการสอนตามครูผู้สอนและบทเรียน และทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดประสงค์การเรียน

ที่มา : http://diana-jones.com/wp-content/uploads/2016-03.html



อ้างอิง

พิสุทธา อารีราษฎร์. (2555). Smart Phone. วันที่สืบค้น 5 พฤษภาคม 2561. จากหลักสูตรไอทีสาหรับผู้บริหาร , เว็บไซต์: http://pisutta.ning.com/group/ict_4_manager/forum/topics/4-smart- 
phone?xg_source= activity
รัตนะ บัวสนธ์ และคณะ.2551 พฤติกรรมและผลกระทบจาการใช้โทรศัพท์มือถือของนิสติ
https://www.gotoknow.org/posts/373822
Nielsen Mobile. (2552). ประโยชน์ของสมาร์ทโฟนที่นามาใช้. วันที่สืบค้น 5 พฤษภาคม 2561. จาก Blogger, เว็บไซต์: http://smartphonekp33.blogspot.com/2011/08/blog-post_29.html