ห้องเรียนอัจฉริยะควรมุ่งเน้นกระบวนการออกแบบที่สะท้อนมุมมองและกระบวนการที่เกิดการสร้างความรู้ เกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ การประมวลผลการคิดเชิงสร้างสรรค์ โดยเน้นการใช้เทคโนโลยี และปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบแก้ปัญหา โครงงานและเรียนแบบร่วมมือเน้นการมีปฏิสัมพันธ์ ฯลฯ
ขั้นตอนการออกแบบห้องเรียนอัจฉริยะ คือ กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ วิเคราะห์บริบทการเรียนรู้ วิเคราะห์ผู้เรียน เลือกวิธีการเรียนการสอน การเตรียมแหล่งสนับสนุนการเรียนการสอน และการประเมินที่ครอบคลุมรอบด้าน แบบ 360 องศา คือ ความก้าวหน้าในการเรียน ผลการเรียน และผลย้อนกลับจากการเรียน เพื่อตรวจสอบผู้เรียนว่าเกิดทักษะต่างๆครบถ้วนหรือไม่ จากการเรียนผ่านสื่อในห้องเรียนอัจฉริยะได้ด้วยตนเอง
ในประเทศไทยห้องเรียนอัจฉริยะ ถือเป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยควรปรับใช้ตามรูปแบบที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในแต่ละสถานศึกษาเป็นหลัก เนื่องจากนวัตกรรมใหม่ๆไม่ได้หมายความว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดเสมอไป แต่ขึ้นอยู่กับการปรับใช้ให้เหมาะสมกับผู้สอนและผู้เรียน
ที่มา : http://tisk.in/home/resources/smart-class/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น