วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561

อีเลิร์นนิ่ง (e-learning: Electronic Learning) กับแนวโน้มการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล

              e-learning เป็นรูปแบบหนึ่งของการเรียน อาจเป็นได้ทั้ง Offline, Online, server-based, web-based เป็นการเรียนรู้บนฐานเทคโนโลยี e-learning นั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ Synchronous คือผู้เรียนและผู้สอนอยู่ในเวลาเดียวกัน และ Asychronous คือผู้เรียนและผู้สอนไม่ได้อยู่ในเวลาเดียวกัน
              ลักษณะการเรียนรู้แบบออนไลน์มีลักษณะสำคัญคือ ผู้เรียนจะเป็นใครก็ได้ มาจากที่ใดก็ได้ และเรียนเวลาใดก็ได้ตามความต้องการของผู้เรียน สื่อที่นำเสนอนั้น เป็นรูปแบบของสื่อประสม ผู้เรียนมีอิสระในการเลือกเรียนเนื้อหาในส่วนใดก่อน-หลังก็ได้ และเอกสารต่าง ๆ ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับเนื้อหาได้โดยอัตโนมัติ ส่วนการนำ e-learning ไปใช้ประกอบกับการเรียนการสอน สามารถทำได้เป็นสื่อเสริม สื่อเติม และสื่อหลัก สื่อเสริม เป็นแบบที่ผู้เรียนยังสามารถศึกษาเนื้อหาเดียวกันนี้ในลักษณะอื่น ๆ ส่วนสื่อเติม จะเป็นการนำ e-learning ไปใช้ในลักษณะเพิ่มเติมจากวิธีการสอนในลักษณะอื่น ๆ และสื่อหลัก จะเป็นการนำ e-learning ไปใช้ในลักษณะแทนที่การบรรยายในห้องเรียน
              ในอนาคตอันใกล้การเรียนแบบ e-learning ในเมืองไทยจะต้องมีมากขึ้น เนื่องจากเป็นวิธีการเรียนรู้ที่มีประโยชน์ในระยะยาวและได้รับความนิยมในต่างประเทศ เพราะข้อได้เปรียบของ                e-learning คือผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ ใช้งานง่าย การปรับเปลี่ยนเนื้อหาทำได้ไม่ยาก สามารถกระจายความรู้ได้รวดเร็ว ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนผู้สอน และ e-learning นี้ก็จะเป็นเส้นทางหนึ่งที่ช่วยพัฒนาแต่ละประเทศให้สามารถเข้าสู่สังคมยุคไอทีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในหลาย ๆ รูปแบบจึงถูกนำมาใช้ในการเรียนการสอนมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อจะเป็นการเตรียมความพร้อมทรัพยากรมนุษย์ให้พร้อมที่จะเข้าสู่สังคมยุคต่อไป



ที่มา : http://decorequired.com/2018/04/15/how-to-use-analogies-in-elearning/





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น