วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

บทความเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ในยุคดิจิทัล



รวมบทความ
  1. รูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสอนของครู
  2. อีเลิร์นนิ่ง (e-learning: Electronic Learning) 
  3. ความจริงเสมือน (Virtual Reality : VR) 
  4. ห้องเรียนอัจฉริยะ
  5. ผู้เรียนในยุคดิจิทัล
  6. สะเต็มศึกษา STEM Education นวัตกรรมการเรียนการสอน
  7. Cloud Computing กับการศึกษาไทยในยุคดิจิทัล
  8. การศึกษาแบบเปิดกว้างด้วย MOOC 
  9. เทคโนโลยีเสมือนจริงเพื่อการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล
  10. สมาร์ทโฟน กับการศึกษาในยุคดิจิทัล
  11. สื่อสังคมออนไลน์กับการศึกษาไทยในยุคดิจิทัล
  • วิธีการเข้าชม AR

  •   1. ดาวน์โหลดแอพลิเคชั่น HP Reveal
IOS

Android

  •   2. สแกน QR Code ด้วย QR Code Reader หรือ แอพลิเคชัน Line    หรือค้นหา  digital21    ในแอพลิเคชั่น HP Reveal

digital21's Public Auras



  • 3. กด Follow “digital21” ในแอพลิเคชั่น HP Reveal 

  • 4. ใช้งานโดยแสกนรูปภาพที่มีสัญลักษณ์ 
                              

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

สื่อสังคมออนไลน์กับการศึกษาไทยในยุคดิจิทัล

สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media ) หมายถึง สื่อดิจิทัลที่เป็นเครื่องมือ ซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างกันในเครือข่ายทางสังคม (Social Network) ผ่านทางเว็บไซต์ (website) และโปรแกรม (program) ประยุกต์บนเครื่องมือสื่อสารจำพวก อิเล็กทรอนนิก (electronic) ที่มีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต (internet) โดยเน้นให้ผู้ใช้ทั้งที่เป็นผู้ส่งสารและผู้รับสารนั้นมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งการนำมาใช้ในการสร้างสรรค์ในงานต่างๆนั้นมีหลากหลายประเภทให้เลือกใช้ตามประเภทของสื่อสังคมออนไลน์
มีการนำสื่อสังคมออนไลน์ มาปรับและประยุกต์ใช้กับการศึกษา นั้นเหตุผลสำคัญของการนำเอาสื่อสังคม ( Social Media ) มาใช้ร่วมกับการเรียนการสอน  กล่าวคือ
1. สื่อสังคมออนไลน์ เป็นสื่อที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำให้ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น ซึ่งการนำเอาสื่อประเภทเหล่านี้เข้ามาใช้ในโรงเรียน จะสนองต่อจุดประสงค์สำคัญ และเป้าหมายที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนได้ (คิดเหมาะ, 2013)
2.  การนำเอาสื่อสังคมออนไลน์ มาใช้ในโรงเรียน เป็นการเพิ่มช่องทาง ที่มีความเหมาะสมสำหรับผู้ใช้ (ผู้สอนและผู้เรียน) ที่จะสามารถพัฒนารูปแบบการสื่อสารได้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะการสื่อสารผ่านการใช้เว็บไซต์ (Trisittiwat, 2018)  สรุปการนำสื่อสังคมออนไลน์ มาประยุกต์ใช้ นั้นควรจะวิเคราะห์ทางกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสำหรับผู้ใช้


ที่มา : https://www.adlibbing.org/2018/02/12/4-lessons-from-top-social-media-publishers/



บรรณานุกรม
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). สื่อสังคม-เครือข่ายสังคม. บทวิทยุรายการรู้รักภาษาไทย. [ออนไลน์].
        เข้าถึงเมื่อ 12 พฤษภาคม 2561, เข้าถึงได้จาก http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=4357
Cambridge University Press. (2009). Cambridge.
Elizabeth F. Churchill. (2012). Social Media Meaning. Proceeding of the 2012 international. workshop on Socially-aware multimedia. New York. USA : Pages 43-44.
อรอุมา ศรีสุทธิพันธ์. (2547). “ความคิดเห็นและพฤติกรรมการเปิดรับสื่ออินเตอร์เน็ตกับรูปแบบการ ดำรงชีวิตของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในเขตกรุงเทพมหานคร.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์  มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ทัตธนันท์ พุ่มนุช. 2553. “การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคม (Social Network) เพื่อพัฒนาในการ ปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษาในสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม.” Veridian E-Journal. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. Vol.5 No. 1 January – April 2012:  หน้า 523-540.
สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2017). Retrieved from http://academic.obec.go.th/newsdetail.php?id=48
Trisittiwat, N. (2018). การประยุกต์ใช้ Social Network และ Social Media สำหรับการศึกษา. Retrieved from http://edutech14.blogspot.com/2014/05/social-network-social-media.html